SPC THAI EDUCATIONAL VILLAGE

จุดประสงค์แรกของ “หมู่บ้านการศึกษา”

คำแนะนำของพระสันตะปาปาฟรังซิส
เกี่ยวกับการจัดการศึกษาคาทอลิกหลังสถานการณ์การระบาด โควิด 19

15 ตุลาคม ค.ศ. 2020

GCOE-LOGO 500x500

สีน้ำเงิน

คือตัวแทนของมนุษยชาติ (Fratelli Tutti ทุกคนต่างเป็นพี่น้องกัน)

• สีเขียว

คือโลกและเครือข่าย-โลกที่ต้องได้รับการดูแลให้มีชีวิตชีวา (Laudato Si ขอสรรเสริญพระเจ้า)

• สีทอง

คือมิติของพระเป็นเจ้า ที่ทุกคนต้องมีมิติของศาสนา (Evangelii Gaudium ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร)

พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเรียกร้องบรรดานักบวช-นักการศึกษา

สร้างความรู้ความเข้าใจ

เรื่อง Global Compact on Education

ร่วมมือกันปฏิบัติ

“คำสัญญาของโลกเพื่อการศึกษา”

สภาพสังคมปัจจุบัน
จะส่งต่อวัฒนธรรมที่ไม่พึงประสงค์
แก่ลูกหลานต่อไป

      • ความก้าวร้าวรุนแรง

      • สิ่งเสพติดทั้งหลาย

      • ภาวะจิตตก

      • ทารุณกรรมต่อเด็ก ล่วงละเมิดทางเพศ ค้ามนุษย์

      • ปัญหาสิ่งแวดล้อม

      • ความแตกแยก ไม่สนใจกันและกัน

      • ทุจริตคอรัปชั่น

      • ความอยุติธรรม

      • ความยากไร้ทุกรูปแบบ

563000009399701
11796277_10152951757415009_5676212678052304590_n

แผนปฏิบัติการแก้ไข

เริ่มด้วย เปลี่ยน Mindset หรือกระบวนทัศน์
หรือกรอบความคิดของผู้บริหารการศึกษาก่อน

เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ
สร้างมนุษยชาติ (Humanity) ที่ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน
การศึกษาต้องยึดมนุษยชาติเป็นศูนย์กลาง

นักการศึกษาต้องเข้าสู่กระบวนการ
ที่นำไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การศึกษา …

1. เปลี่ยนโลกปัจจุบัน ให้เป็นโลกใหม่ที่ดีขึ้น

2. เปลี่ยนความแล้งน้ำใจ ให้เป็นความรักและรับใช้ มีเมตตาและเอื้ออาทรต่อกัน

3. ให้ความสำคัญของการเป็นมนุษย์และจิตวิญญาณของเด็กและเยาวชน

สรุปโดยย่อ คือ

  • เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ “Learning Persons

  • เป็นชุมชนแห่งความเป็นมนุษย์ ที่รักและเอื้ออาทร Loving and Caring Community,

  • มุ่งสู่ความเป็นเลิศแห่งความเป็นมนุษย์ Reaching for Human Excellence,

  • ตามหลักคริสตธรรม according to Christian Principles.”

พระสันตะปาปา ทรงสรุปข้อปฏิบัติ 3 ประการ

1. Focusing จุดที่ต้องเพ่งเล็ง

คือให้ผู้เรียนเติบโตด้านวุฒิภาวะ ควบคู่กับทักษะและสติปัญญา เพื่อให้สร้างอนาคตที่มีความยุติธรรมและสันติ

2. Welcoming คือการรับฟังกันและกัน

ในทุกวัฒนธรรม เพื่อทราบความต้องการที่แท้จริงของเขา และให้ความช่วยเหลือตรงเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความเคารพต่อกัน รวมถึงต่อสิ่งแวดล้อม

3. Involving คือการร่วมตัดสินใจ

หลังจากการรับฟัง เพื่อเข้าใจปัญหาในด้านเศรษฐกิจ การเมือง การพัฒนา และการเสนอข้อปฏิบัติ เพื่อเป็นโอกาสรับใช้ครอบครัวมนุษย์อย่างกว้างขวางขึ้น

บทภาวนาของพระสันตะปาปา ในคำปราศรัยนี้

พี่น้องนักการศึกษาที่รัก
พ่อร่วมเป็นหนึ่งเดียวในคำภาวนากับพวกท่าน ผู้ทำงานด้านนี้
ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าประทับอยู่ในงานการศึกษาอบรมของพวกท่าน
ในสภาวะที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงนี้
พ่อขอฝากท่านไว้กับองค์พระผู้เป็นเจ้า ขอพระองค์ทรงอวยพระพร
ขอพระแม่มารีย์พรหมจารี ปกปักรักษาท่านเสมอไป
อย่าลืมภาวนาให้พ่อด้วย
ด้วยความรักฉันพี่น้อง

เกี่ยวกับ...SPCVEDU.COM

....ทุกการเปลี่ยนแปลงเรียกร้องให้มีกระบวนการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับทุกคน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องสร้าง "หมู่บ้านแห่งการศึกษา" ซึ่งทุกคนตามบทบาทของตน มีหน้าที่ร่วมกัน ในการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์แบบเปิดกว้างของมนุษย์...

พระสันตะปาปาฟรังซิส

จากพระสมณสาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส สำหรับการเปิดตัว Global Compact on Education ….พันธกิจหนึ่งของคณะเซอร์เซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร  คือ “งานด้านการศึกษา” ในโอกาสนี้ เพื่อเป็นการตอบรับพระสมณสาส์นดังกล่าว ฝ่ายการศึกษาของคณะ จึงได้จัดให้มีเว็บไซต์เพื่อรวบรวมความรู้ และข่าวสารด้านต่าง ๆ ทั้งหลักสูตร คำสอน การอบรม สื่อการสอน และการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร Global Citizenship 

สำหรับคุณครู และบุคลากรด้านการศึกษาอื่น ๆ …. เว็บไซต์นี้จะเป็นแหล่งความรู้เชิงวิชาการ ในการแบ่งปันความรู้ เทคนิคการสอน และผลงานต่าง ๆ ของโรงเรียนในเครือของคณะ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมให้นักเรียนโรงเรียนในเครือ 

  • ตระหนักและให้ความสำคัญต่อคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์
  • การป้องกันและต่อต้านการค้ามนุษย์
  • ภราดรภาพเพื่อขจัดความแตกแยก
  • การส่งเสริมการต้อนรับความแตกต่าง
  • การส่งเสริมความยุติธรรม และสันติภาพ

และนอกจากนี้ ยังเป็น การให้ความรู้ด้านจิตวิทยาเพื่อการดูแลนักเรียน Positive Psychology – บริการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแก่คุณครูด้วยระบบออนไลน์ ข่าวสารต่าง ๆ ของพระศาสนจักร  ข่าวสารจากกระทรวงศึกษาธิการ และจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ 

ทั้งนี้เพื่อให้ เกิดผลประโยชน์สูงสุดในการศึกษาสำหรับผู้สอน และผู้เรียน ซึ่งการศึกษาและความรู้เป็นมรดก ที่คุณพ่อหลุยส์ โชเวต์ ผู้ก่อตั้งคณะของเรา ได้มอบไว้ “ด้วยชีวิต” ของท่าน

ดังนั้น  ในการประชุมคณะกรรมการฝ่ายการศึกษาฯ เมื่อวันที่  23  กันยายน ค.ศ. 2021 ที่ประชุมได้มีมติขานรับพระประสงค์ของพระสันตะปาปาฟรังซิส ในการสร้าง “หมู่บ้านการศึกษา” ขึ้น  โดยจัดทำในรูปแบบของ web site และ web page เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร  เป็นงานแพร่ธรรมใหม่ทางด้านการศึกษาที่มีมนุษยชาติเป็นศูนย์กลาง  โดยเสนอวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อตอบรับพระดำรัสของพระสันตะปาปาฟรังซิส ในการสร้างหมู่บ้านการศึกษา
  2. เพื่อสรรสร้างการเป็นพันธมิตรการศึกษาในวงกว้าง เพื่อเป็นพี่น้องกันมากขึ้น
  3. เพื่อเป็นศูนย์รวมความร่วมมือระหว่างโรงเรียนในเครือฯในการแบ่งปันความรู้ ผลงาน กิจกรรมของแต่ละโรงเรียน
Pope Francis and Children - 3
Pope Francis and Children - 2
5605d9b4dbc11.image
sot-ourlady-20150927cnsnw0731

คติพจน์ทางการศึกษาของคณะ

ศึกษาดี มีวินัย ใจเมตตา ใฝ่หาคุณธรรม เลิศล้ำการงาน

ศึกษาดี

หมายถึง การส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานทางวิชาทักษะต่างๆ ตามศักยภาพของตน เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคมปัจจุบัน ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถคิดเป็นทำเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยใช้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ให้สามารถแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ และให้การศึกษาเป็นกระบวนการตลอดชีวิต ซึ่งสอดคล้องตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน

มีวินัย

หมายถึง   การรู้จักเคารพต่อกฎกติกา ระเบียบและศักดิ์ศรีของผู้อื่น เคารพผู้อาวุโสกว่าทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ มีความเป็นประชาธิปไตยแก้ปัญหาในชีวิต ด้วยสันติวิธีมีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม รักษาความสะอาดและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ใจเมตตา

หมายถึง มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการแบ่งปัน เสียสละ และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ยากไร้ด้อยโอกาส

ใฝ่หาคุณธรรม

หมายถึง ความมีศรัทธาในศาสนาที่ตนนับถือและไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่นสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การมีค่านิยมในชีวิตที่ถูกต้อง มีความเข้าใจ และซาบซึ้งในคุณค่าของวัฒนธรรมไทย

เลิศล้ำการงาน

หมายถึง การมีจิตใจรักการทำงาน มีเจตคติที่ดีต่อสัมมาอาชีพมีความขยันอดทนในการทำงาน มีความภาคภูมิใจในผลงานของตน และยอมรับในคุณค่างานของผู้อื่น สามารถใช้ศักยภาพของตนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สถาบันการศึกษาของคณะ และที่คณะร่วมบริหาร

ปัจจุบันคณะเซอร์ ให้การดูแลสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ 36 แห่ง

โรงเรียนของคณะ 24 แห่ง

  • อัสสัมชัญคอนแวนต์ – 1905
  • ซางตาครู้สคอนแวนท์ – 1906
  • เซนต์โยเซฟคอนเวนต์ – 1907
  • เซนต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ – 1925
  • เซนต์โยเซฟ นครสวรรค์ – 1956
  • เซนต์ปอลคอนแวนต์ – 1963
  • เซนต์โยเซฟ ระยอง – 1963
  • เซนต์โยเซฟ บางนา – 1968
  • เซนต์โยเซฟ ศรีเพชรบูรณ์ – 1975
  • เซนต์โยเซฟ ทิพวัล – 1977
  • เซนต์โยเซฟ เกาะสมุย – 1983
  • เซนต์ปอล หนองคาย – 1984
  • โรซารีโอวิทยา – 1988
  • เซนต์โยเซฟ เพชรบุรี – 1989
  • เซนต์โยเซฟ ท่าแร่ – 1994
  • อัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม – 1995
  • เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ – 1995
  • เซนต์โยเซฟ แม่ระมาด – 1996
  • เซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เมืองทองธานี – 1997
  • อัสสัมชัญคอนแวนต์ ลำนารายณ์ – 1998
  • เซนต์โยเซฟ แม่แจ่ม – 2006
  • อัสสัมชัญคอนแวนต์ ลพบุรี – 2007
  • ปรีชาญาณศึกษา – 2009
  • อนุบาลสิริโรจนา – 2010

สถาบันการศึกษาที่คณะร่วมบริหาร 12 แห่ง

  • เซนต์แอนโทนี – 1947
  • มารดานฤมล – 1955
  • มารีย์วิทยา – 1956
  • พระแม่สกลสงเคราะห์ – 1969
  • ภัทรวิทยา – 1972
  • เซนต์หลุยส์ศึกษา – 1975
  • อนุบาลนิจจานุเคราะห์ – 1975
  • ซางตาครู้สศึกษา – 1977
  • พระมารดานิจจานุเคราะห์ – 1985
  • วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ – 1985
  • ศีลรวี – 1989
  • สันติวิทยา – 1990