6 วิธี เปลี่ยนนิสัยให้เป็นคนรักการอ่าน
การสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจ หรือการได้บอกเล่าเรื่องราวที่ต้องการสื่อสารออกไป สำหรับผู้ที่ได้ยินก็คงจะมีภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกที่สามารถฟังและเข้าใจ หากคุณรู้จักภาษานั้น แต่สำหรับผู้ที่ไม่อาจได้ยิน พวกเขามีการสื่อสารอย่างไรในชีวิตประจำวัน พวกเขาจะบอกกล่าวเรื่องราว ความรู้สึกของตนออกมาได้อย่างไร เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ภาษามือ รวมไปถึงเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงสิทธิมนุษยชนของคนหูหนวกด้วย โดยข้อมูลจากสมาคมคนหูหนวกโลก (WDF) เผยว่า ปัจจุบันมีผู้พิการทางการได้ยินมากกว่า 70 ล้านคนทั่วโลก และกว่า 80% อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา นั่นหมายความว่า มีภาษามือกว่า 300 ภาษาที่ใช้อยู่ตอนนี้ ซึ่งถือว่ามีความหลากหลายอย่างมาก …. เชิญชวนทุกท่านมาทำความรู้จัก “ภาษามือ” ไปพร้อม ๆ กัน เรียนรู้มากขึ้น เพื่อที่จะเข้าใจมากขึ้น
1. ภาษามือไม่ได้มีภาษาเดียว
ภาษามือแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ อีกทั้งในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเหมือนกันอย่างอังกฤษและอเมริกายังใช้ภาษามือคนละภาษาแยกไปเป็นภาษามืออเมริกันและภาษามือบริติชไม่สามารถใช้สื่อสารด้วยกันได้ และแม้ว่าบางภาษาจะมีคำบางคำอาจจะมีความหมายเหมือนกัน เช่น คำว่า ‘ภาษามือ’ ในภาษามือญี่ปุ่นและภาษามืออเมริกันคือการกำมือชี้นิ้วชี้เข้าหากันแล้ววนเข้าหาลำตัว แต่หากเผลอใช้คำอื่นๆ สลับกันก็อาจเกิดเรื่องยุ่งได้ เพราะคำว่า ‘เพื่อน’ ในภาษามือญี่ปุ่น ใช้ท่าทางคล้ายกับคำว่า ‘แต่งงาน’ ในภาษามืออเมริกัน แทนที่จะขอเป็นเพื่อน อาจได้เป็นมากกว่าเพื่อนแทน
2. ภาษามือมีภาษาสากลแต่ไม่เป็นที่นิยมนัก
ภาษาสากลสำหรับภาษามือเรียกว่า ไอเอส (International Sign : IS) หรือ เกสตูโน (Gestuno) เป็นภาษามือกลางสำหรับคนทุกชาติแต่มีคลังคำค่อนข้างน้อยและมักใช้ในงานระดับนานาชาติ เช่น งานประชุม World Federation of the Deaf และงานประกวด Miss & Mister Deaf Thailand ซึ่งในบางครั้งก็อาจต้องใช้ล่ามเพื่อแปลภาษามือในประเทศนั้นเป็นภาษามือสากลอีกทีหนึ่งในการสื่อสารกับคนชาติต่างๆ เนื่องจากเกสตูโนไม่เป็นที่นิยมโดยทั่วไปนัก
3. ใครๆ ก็มีชื่อใหม่ในภาษามือ
เช่นเดียวกับการที่บางคนไปอยู่ประเทศอื่นแล้วตั้งชื่อตัวเองตามภาษาของคนประเทศนั้น ภาษามือเองก็มีชื่อคนสำหรับภาษามือเหมือนกัน โดยชื่อในภาษามือมักตั้งด้วยการดึงเอกลักษณ์บางอย่างของคนๆ นั้นออกมา อย่างชื่อของมิกกี้เมาส์ในภาษามือ คือการทำมือสองข้างเป็นรูปตัว C ประกบไว้บนศีรษะเหมือนหูของเจ้าหนูมิกกี้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีสะกดชื่อด้วยพยัญชนะทีละตัวเป็นภาษามือ แล้วชี้ไปยังจุดใดจุดหนึ่งในอากาศเพื่อทดชื่อคนๆ นั้นไว้ ใช้สำหรับเวลาพูดถึงคนที่ไม่ได้อยู่ใกล้ๆ ในขณะนั้น เมื่อจะกล่าวถึงอีกครั้งก็ชี้ไปยังจุดที่ทดไว้ก็จะเข้าใจได้ทันทีว่ากำลังหมายถึงใครอยู่
4. คนใช้ภาษามือคุยกันออกรสมาก
หากได้เห็นคนใช้ภาษามือคุยกันสักครั้งคุณอาจจะต้องประหลาดใจว่าทำไมพวกเขาถึงได้คุยกันใส่อารมณ์ออกสีหน้าจนแทบจะรู้สึกว่าเอะอะเลยทีเดียวแม้ไม่ได้ยินเสียงอะไร เหตุผลนั้นก็เพราะภาษามือไม่ได้สื่อสารด้วยมือเพียงลำพังแต่ใช้ใบหน้าในการสื่อสารด้วย ภาษามือหลายๆ คำ ก็เป็นการทำท่าทางใกล้ๆ ใบหน้าเพื่อใช้สีหน้าช่วยสื่อสารด้วย แม้ท่าทางของมืออย่างเดียวอาจสื่อความหมายได้ แต่หากหน้าตายก็ไม่ต่างไปกับการคุยกันด้วยเสียงโมโนโทนสักเท่าไร
5. ร้องเพลงด้วยภาษามือก็ได้
ในยูทูบมีคลิปการร้องเพลงด้วยภาษามืออยู่มากมาย อย่างเพลง Happy ของ Pharrell Williams (click) แม้โดยส่วนมากแล้วเพลงภาษามือจะจัดทำโดยผู้ที่มีการได้ยินปกติเพื่อจุดประสงค์ทางศิลปะ ความบันเทิง และช่วยในการเรียนรู้ภาษามือสำหรับผู้สนใจ แต่ดนตรีก็ไม่ได้จำกัดไว้สำหรับคนหูดีเท่านั้น คนหูหนวกก็สามารถฟังเพลงผ่านการรับรู้อื่นๆ อย่างในคอนเสิร์ตสำหรับคนหูหนวกโดยศิลปินมาร์ติน แกร์ริกซ์ (Martin Garrix) ที่เน้นสัมผัสแรงสั่นสะเทือนจากเบสและกลอง นอกจากนี้ ในประเทศไทยเองก็เคยมีการจัดงาน Love is Hear : The Concert for The Deaf & The Rest คอนเสิร์ตที่ให้คนหูหนวกและคนหูดีได้มีประสบการณ์การ ‘ฟัง’ ภาพ รส สัมผัส กลิ่น และเสียงของเพลงไปด้วยกัน
ภาษามือก็เป็นเป็นอีกภาษาที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตัวเอง ไม่ใช่เพียงส่วนหนึ่งหรือคำแปลของภาษาพูดเท่านั้น และหากได้ลองศึกษาด้วยตัวเองดูสักครั้งจะต้องทึ่งแน่ว่าสองมือของเรานี้ก็สามารถสื่อสารอะไรได้มากมาย การเรียนรู้ภาษามือไว้เป็นภาษาที่สามก็ฟังดูน่าสนใจเหมือนกันนะ
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก WEBSITE
The MOMENTUM