ความแตกต่างระหว่าง “อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง VS เปิดนิทานจากหน้าจอให้ลูกดู”
คุณพ่อคุณแม่คงเคยคิดนะคะว่า สมัยนี้การอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังนั้นมันจำเป็นอยู่หรอ ในเมื่อเทคโนโลยี หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ก็สามารถเปิดให้เด็กๆ ได้ท่องโลกกว้างกันแบบที่ใช้แค่ปลายนิ้วจิ้มก็ไปไหนต่อไหนได้แล้ว แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง อย่างบางบ้านก็ไม่มีเวลาพอที่จะมานั่งอ่านหนังสือให้ลูกฟัง โยนมือถือไปก็จบเรื่องแล้ว แต่มันจะดีกว่าไหมหากเด็กๆ ได้ฟังเสียงของพ่อแม่ และได้มองภาพจากหนังสือ ซึ่งการอ่านแบบหนังสือ กับการอ่านแบบเปิดหน้าจอก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน วันนี้ Parents One จะพาไปดูความแตกต่างกันค่ะ
ถ้าพ่อแม่ “อ่านหนังสือนิทานเอง”
เด็กมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว เฉลียวฉลาด
เป็นเวลาคุณภาพ
เด็กเชื่อฟังมากกว่า รู้ถูกผิด
สร้างจินตนาการและความคิดเชื่อมโยง
ความสนุกเกิดจากการเล่าของพ่อแม่
ลูกมีส่วนร่วมในการเล่านิทาน
สร้างสมาธิให้กับเด็กๆ
นอนหลับฝันดี
ถ้าพ่อแม่ “เปิดนิทานจากหน้าจอ”
เด็กมีพัฒนาการล่าช้าทางภาษา
ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
มีพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิด โมโห
จินตนาการหดหาย เพราะในภาพจอทำไว้หมดแล้วทั้งภาพและเสียง
เป็นความสนุกที่มาไวไปไว เพียงแค่ผ่านตา
สมาธิสั้น กลายเป็นเด็กติดจอ สายตาสั้น
ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว เสี่ยงโรคอ้วน
มีปัญหาการนอนหลับ
Post Views: 645